การจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดการน้ำ

เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการอุปโภคบริโภค และมีความจำเป็นทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร ในปัจจุบันความต้องการใช้น้ำมีแนวโน้มเพิ่มมาก ขึ้นเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ หรือแม้แต่มลพิษทางน้ำ ดังนั้นกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัว พัฒนา นวัตกรรม และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำให้ดียิ่งขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารความเสี่ยงในการ ดำเนินธุรกิจ

บริษัท อินเตอร์ไฮด์ จำกัด (มหาชน) ได้ตะหนักถึงความสำคัญในการจัดการบริหารน้ำ จึงได้กำหนดให้เป็นหนึ่งในประเด็นด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีการดำเนินอย่าง ต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงการใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การลดปริมาณการใช้น้ำ และนำน้ำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการสร้างความตระหนัก การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับกฎหมายและแนวทางการการดำเนินงานตามแผน

sustain image

โครงการ WATER RECYCLE

บริษัท อินเตอร์ไฮด์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำการศึกษาและพัฒนาโครงการ Water Recycle สำหรับนำน้ำที่ผ่านการใช้แล้วจากกระบวนการผลิต มาบำบัดและนำกลับมาใช้ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ โดยมีการบริหารจัดการน้ำตามหลัก 3RS

การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย

บริษัทฯ ติดตามและเฝ้าระวังการปล่อยน้ำเสีย โดยกำหนดและใช้นโยบาย หรือแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้บริษัทฯ มีการระบายน้ำทิ้งตามข้อกำหนดหรือข้อบังคับทางกฎหมาย อาทิ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยน้ำทิ้งที่ปนเปื้อนจะได้รับการบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อให้มั่นใจว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของน้ำทิ้งเสมอ โดยมีพารามิเตอร์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง อาทิ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อุณหภูมิ ค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand: COD) ค่าบีโอดี (Biological Oxygen Demand: BOD) ค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solid: TSS) น้ำมันและไขมัน โลหะหนัก เช่น Trivalent chromium (Cr3+), Hexavalent chromium (Cr6+) เป็นต้น อีกทั้งบริษัทฯ มีการตรวจวัดคุณภาพของการระบายน้ำทิ้งทุกวันผ่านระบบออนไลน์ (POMS) โดย COD Online System ต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม(DIW) และมีการรายงานต่อคณะทำงานภายในเพื่อติดตามและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานอีกด้วย

ด้านการจัดการและควบคุม ได้แก่ การควบคุมมลพิษทางน้ำ โดยกําหนดมาตรการต่างๆ จัดทําแผนปฏิบัติการและแผนฉุกเฉิน การจัดการคุณภาพน้ำทิ้ง โดยใช้ระบบบำบัดที่มีประสิทธิภาพสูง Activated Sludge – (AS) น้ำเสียจะถูกส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียและผ่านกระบวนการจนกระทั่งได้มาตรฐานตามที่กฏหมายกำหนดก่อนจะระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติหรือนำกลับไปใช้อีกครั้ง ทั้งนี้ยังได้กําหนดและปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพน้ำให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่กำหนด ได้แก่ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการฟอก ขัดหรือเคลือบสีหนังสัตว์ พ.ศ. 2561

การดำเนินงานด้านการจัดการของเสีย

sustain image
sustain image
บริษัท อินเตอร์ไฮด์ จำกัด (มหาชน) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าที่สุด ลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ รวมทั้งใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แนวทางการบริหารจัดการ

มีการบริหารจัดการของเสีย ภายใต้การบริหารจัดการโดยกำหนด นโยบาย เป้าหมาย ตลอดจนติดตามตรวจวัดและกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย และขั้นตอนการดำเนินงานของบริษัท

บริษัทฯ มีการจัดการของเสียอันตรายและไม่อันตรายจากอุตสาหกรรมของบริษัท มาวิเคราะห์แนวโน้มและจัดทำฐานข้อมูลวิธีการจัดการของเสีย เพื่อประเมินแนวทางการปรับปรุงวิธีส่งกำจัด รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจจากการรีไซเคิลและการจัดการของเสีย

การจัดการของเสียไม่อันตราย

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับกระบวนการคัดแยกของเสียในสำนักงาน โดยมีการเตรียมถังขยะรองรับการแยกของเสียแต่ละประเภท ได้แก่ ถังขยะทั่วไป ถังรีไซเคิล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารและแบ่งปันความรู้ เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้แก่พนักงานในการลดของเสีย รวมทั้งเพิ่มอัตราการนำกลับมาใช้ใหม่ และลดปริมาณของเสียที่จะนำไปสู่หลุมฝังกลบ (Reduce Waste To Landfill)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ปัจจุบัน บริษัทฯ สามารถลดปริมาณของเสียที่ต้องกำจัดฝังกลบ (Waste to Landfill) ต่อตันการผลิต Hazardous Waste 99.9% และ Non-Hazardous 98.6% เทียบกับปริมาณ ณ ปีฐาน 2563

environment img

การนำเศษเกลือมาเปลี่ยนเป็นน้ำเกลือใช้ในโรงงาน (Salt Recycle)

ปัจจุบันบริษัทฯ ได้มีการนำ เศษเกลือ จากกระบวนการผลิต มาผลิตป็นน้ำเกลือเข้มข้น และนำมาใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม

environment img

การนำเศษของเสียมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบ (By Product) เศษหนังจากกระบวนการผลิต (เชียร์เต้)

บริษัท อินเตอร์กรีน จำกัด โรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำวัตถุดิบอุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรมตามใบอนุญาตชนิด โรงงานประเภท 106 มาเปลี่ยนของเสียเป็นวัตถุดิบที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตได้ ซึ่งสอดคล้องกับของเสียอันตรายที่นำไปฝังกลบเป็น 0% (Zero Waste to Land fill)

environment img

อิฐบล็อก

การนำกากตะกอนจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้าย (Clarifier Sedimentation) มาเป็นส่วนผสมเพื่อผลิตเป็นอิฐบล็อก และนำใช้ประโยชน์ในการการก่อสร้าง และซ่อมแซม ภายในโรงงาน

environment img

ไม้พาเลช (Reuse Pallet)

การนำเศษไม้พาเลชจากการขนย้ายวัถุดิบหรือพาเลชจากการใช้แล้ว กลับมาซ่อมแซมและนำกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำภายในโรงงาน (Reuse) ปัจจุบันสามารถลดการส่งกำจัดสู่หลุมฝังกลบ ซึ่งสอดคล้องกับของเสียอันตรายที่นำไปฝังกลบเป็น 0% (Zero Waste to Land fill) ปริมาณของเสียอันตรายและไม่อันตรายที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อลดการกำจัดของเสียสู่หลุมฝังกลบ

กลยุทธ์ที่สำคัญของบริษัท

ลดปริมาณของเสียจากแหล่งกำเนิด

บริหารจัดการของเสียอุตสาหกรรมตามหลัก 3Rs และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ทั้งของเสียอันตราย และไม่อันตรายภายในโรงงาน

วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงเพิ่มมูลค่าให้ของเสีย

การจัดการของเสียอุตสาหกรรม โดยไม่ฝังกลบ

โครงการหรือกิจกรรมที่สำคัญ

บริษัทฯ มีการนำของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต เช่น เกลือ (Salt) นำมาใช้ประโยชน์ โดยการนำเศษเกลือจากกระบวนการปั่นแยกเศษเกลือออกจากหนัง นำมาผลิตเป็นน้ำเกลือเข้มข้น (10 Baumé) เพื่อนำกลับมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยกำลังในการผลิตน้ำเกลือ เฉลี่ยวันละ 20 ลบ.ม ต่อวัน และจะพัฒนาอัตรากำลังผลิตเป็น 100 ลบ.ม ต่อวัน ภายในปี 2566

การดำเนินงานในอนาคต

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงวิธีการจัดการของเสีย โดยควบคู่ไปกับการดูแลสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น เพื่อควบคุมปริมาณของเสียอันตรายและไม่อันตรายจากอุตสาหกรรม และได้มีการพัฒนา วิจัย ของเสียจากอุตสาหกรรมให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100%

sustain image

กิจกรรมที่สำคัญ

อินเตอร์ไฮด์ มีการติดตามและบันทึกของเสียจากกระบวนการผลิต มีการจัดหมวดหมู่และบันทึกรายการของเสียที่เกิดขึ้น แยกตามประเภทของวัตถุดิบ ทําให้บริษัทสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากของเสียแต่ละชนิดจะถูกนําไปบริหารจัดการที่ปลายทางด้วยวิธีที่แตกต่างกัน